วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

"สถาปนิก Idol รุ่นพี่ลาดกระบัง"

จากการที่ได้รับ Assignment ของวิชา Professional Practice ในครั้งนี้...เป็นเหมือนการเปิดมุมมองในด้านต่าง  ๆ จากที่เคยรู้มา..ได้ทำความรู้จักกับรุ่นพี่ และได้พูดคุยแลกเปลี่ยนมุมมองกับคนที่มีประสบการณ์ในการทำงาน..ทำให้เรารู้ว่าการทำงานจริงนั้น..ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด...

วันนี้ได้ไปสัมภาษณ์ พี่แอน อัฐมี นิธิเสถียร จบปี 2540 รหัส 37
พี่แอนทำงานอยู่ที่ Architrave Design & Planning Division ซึ่งเป็นบริษัทของ Banyan Tree Hotels & Resorts ตำแหน่ง Architect Project Manager

วันนี้นัดกันที่ออฟฟิสของพี่แอน ที่ตึกไทวา ชั้น 23 สาทร..

สวัสดีค่ะพี่แอน ^^... ตอนแรกลืมแนะนำตัว ด้วยความตื่นเต้น...

อยากให้พี่แอนช่วยเล่าประวัติสักนิดนึงค่ะ หลังจากจบมาแล้วพี่แอนทำอะไรบ้าง

- ก็ตอนพี่จบมันก็ปี 40 อ่ะนะ ช่วงนั้นมันเป็นยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ก็มีรับจ๊อบบ้าง แล้วก็ไปเรียนต่อป.โทมาด้วยเหมือนกัน แล้วก็เคยทำงานอยู่ที่บริษัท I A W แล้วก็ย้ายมาทำที่บริษัทนี้ล่ะ ตอนนี้ก็เป็นสถาปนิกออกแบบ พอจบใหม่  ๆ ปีสองปีแรกเค้าให้ทำอะไรเราก็ทำ ตัดแมส พรีเซนต์ ประมาณนี้ล่ะ ยังไม่ได้ออกแบบหรอก ส่วนใหญ่ก็ต้องเป็นรุ่นใหญ่ที่ออกแบบ พี่เคยทำงานชิ้นนึง ใช้เวลา 4 ปี คือสนุกแค่ 1ใน4 นะ ระหว่างนั้นต้องไปประสานงานกับพวกงานระบบ พวก interior lighting วิศวกร แต่จริงๆแล้วมันก็สนุกนะ













การเป็นสถาปนิก..พี่แอนว่าต้องมีอะไรบ้างคะ?


-เรื่องการจัดการ การวางแผน เพราะความอึดเรามีอยู่แล้ว แล้วก็ต้องมีความสุขกับการทำงานนะ ถ้าเรารักในอาชีพนี้เราก็ทำได้ แล้วก็เรื่องของความคิดอีก ต้องจัดระเบียบ อันไหนสำคัญ ไม่สำคัญ จะทำให้เราก้าวหน้าเร็ว  



แล้วอุปสรรคในการทำงานนี่มีเรื่องอะไรบ้างคะ?

-พี่ว่าน่าจะเป็นเรื่องงบประมาณนะ ถ้าช่วงนั้นเศรษฐกิจดี งานมันก็ดีด้วย อย่างทำพวกบ้านจัดสรรเนี่ย เรื่องงบประมาณเป็นหลักเลย ต่อให้เราใส่อะไรลงไปในงานนะ เช่น วัสดุ ราคาก่อสร้าง มันก็มีข้อจำกัด แล้วภาพรวมที่ออกมา มันก็ไม่ประณีตครบ 100% อย่างพี่ทำบางงานนะ ออกแบบเรียบร้อย ปรากฏว่าพอไปเสนอ เค้าก็เคาะเลยว่าไม่สร้าง เพราะมันไม่คุ้มทุน


ผลงานที่ผ่านมาของพี่แอน...
บ้าน...
งาน noble-Tara


noble-Geo
Mahanaga Restaurant Sukhumvit 29
"จากตอนแรก เราทำใน scale เล็ก ๆ พอขนาดเริ่มใหญ่ขึ้น..ความละเอียดก็ต้องมากขึ้นด้วย"
รีสอร์ท...
  ในประเทศ
Banyan Tree Resort-Chiang Mai
Angsana Resort-Phuket



Banyan Tree-Mayakoba, Mexico


ความคิดเห็นในเรื่องของจรรยาบรรณวิชาชีพ พี่แอนคิดว่าอย่างไรคะ?

-คือจรรยาบรรณมันก็เป็นเรื่องพื้นฐานนะ ทุกคนก็ต้องปฏิบัติอยู่แล้ว พี่มองว่าการที่เวลาเราไปคุยกับลูกค้า เราต้องแสดงให้เค้าเห็นว่าเราจะให้อะไรกับเค้าบ้าง และมันสำคัญอย่าไร ถ้าเราจะทำงานให้เป็น professional เราก็ต้องทำให้งานเป็น professional ด้วย

ในเรื่องของกฏหมาย เรื่องคนพิการ หรือสิ่งแวดล้อม พี่แอนมีความเห็นว่าอย่างไรบ้างคะ?

-กฏหมายสำคัญมาก พวกกฏหมายสิ่งแวดล้อมก็ดี ทำให้มีความปลอดภัยกับผู้ใช้อาคารมากขึ้น ต้องระมัดระวังในเรื่องการออกแบบ ต้องคำนึงถึงให้มาก ๆ พวกอาคารเขียว คนพิการ...อย่างที่พี่เจอมา ที่ประเทศเมกซิโก ประเทศจีน เค้าก็มีกฎหมายที่เ้ข้มแข็งมาก แล้วก็ทำมานานแล้วด้วย อย่างการออกแบบรีสอร์ท เค้าจะมีห้องสำหรับคนพิการ ประมาณ 1-2 ห้องนะ เรื่องพวกนี้น่ะสำคัญมาก

ต่อจากนั้นก็เริ่มคุยกันในเรื่องของเด็กลาดกระบัง...ว่าในการทำงานนั้นเป็นอย่างไร

"พี่ว่าเราอ่ะ (หมายถึงเด็กลาดกระบัง) พูดไม่เก่ง คือมีทุกอย่างแล้ว ความขยัน ความอึดเนี่ยมีแล้ว แต่ในเรื่องการนำเสนอ..การลำดับความคิด เราต้องมีความสามารถพรีเซนต์ได้ชัดเจน กระชับ ทั้งกระบวนการตั้งแต่เพลท ,powerpoint แล้วก็ต้องฝึกการนำเสนอด้วย ถ้าเราเจอเจ้านายที่เข้าใจว่าเราทำงานมันก็โอเค แต่ถ้าเราไปเจอเจ้านายที่รอดูแต่งาน final เราก็เสียเปรียบคนอื่น"


สุดท้ายแล้ว...พี่แอนมีอะไรจะแนะนำน้อง ๆ บ้างมั๊ยคะ?


-อาชีพเรามันมีความสุขทางใจนะ เงินมันก็ไม่ได้มากมายอะไร พูดถึงเรื่องการไปหาประสบการณ์ที่ต่างประเทศ..มันก็ดี แต่เราน่าจะรู้พื้นฐานของเราให้ดี งานออกแบบสมัยใหม่ สวย เปรี้ยวๆ เก๋ๆ มันเหมาะกับบ้านเราหรือเปล่า อย่างสิงคโปร์ ต้องยอมรับว่าเขาพัฒนาไปกว่าเรา เรื่องภาษา วิธีการจัดการก็ดีกว่า เทคโนโลยีของเขาก็ดีกว่า เราต้องไปเรียนรู้ข้อดีของเขา อย่าหลง..นึกถึงตอนไปทริปอ.จิ๋ว นั่นแหละ อย่างสมัยพี่มันก็เป็นยุคโมเดิร์น Form follow Function ไง แต่สมัยนี้สวยไว้ก่อนซึ่งมันไม่ได้..คือมันต้องมีความ balance กัน ต้องตอบสนองคนก่อน ก่อนที่จะเอาเงินของเค้าไปผลาญด้วยงานออกแบบของเรา แล้วก็เรื่อง free hand sketch นี่ก็สำคัญ มันมีเสน่ห์นะ

เสริมก่อนจะจากกัน เมื่อพูดถึงทริปอ.จิ๋ว..

-พูดถึงสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น ต้องได้เห็น ได้เรียนรู้นะ อย่าไปลอกจากใน Google Magazine ต้องดูของจริง ของพื้นถิ่น ของอดีต ของ classic ว่ามันเปนยังไง อย่างการออกแบบก็เหมือนกัน ต้องดู character ศึกษาวัฒนธรรมว่าเป็นยังไง ทำไมเราไม่เอาของบ้านเรามาประยุกต์ใช้ อย่าไปลอกของที่เสร็จแล้ว พี่ว่าจุดแข็งของเราเนี่ย อยู่ที่"อ.จิ๋ว" เลยนะ เราได้ไปเจอของจริง..มันสุดยอด ในเรื่องสัดส่วน ความงามของบ้านเรานี่ล่ะ เหมาะที่สุดแล้ว

ขอขอบคุณพี่แอน อัฐมี นิธิเสถียร ที่สละเวลาให้สัมภาษณ์ สำหรับประสบการณ์ที่ดี และมุมมองความคิดที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวิชาชีพหรือการใช้ชีวิต...

ขอบคุณค่ะ

สัมภาษณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2553

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อกำหนดวิชาชีพสถาปนิก สหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ)

ในประเทศอังกฤษ..มีหน่วยงานที่สำคัญ  ๆ อยู่ 2 หน่วยงานหลัก  ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปนิกโดยตรง นั่นก็คื

  • ARB (Architect Registration Board) 
  • RIBA (The Royal Institute of British Architect)








ARB (Architect Registration Board)

ARB เป็นศูนย์รวมของวิชาชีพสถาปัตยกรรม และควบคุมกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพสถาปนิก (มีหน้าที่คล้ายๆกับสภาสถาปนิกในประเทศไทย)  และกำหนดมาตรฐานของวิชาชีพสถาปนิก ที่เรียกว่า 
Architects Code: Standards of Conduct and Competence ซึ่งถือเป็นข้อกำหนดพื้นฐานที่สถาปนิกควรปฏิบัติหรือมีคุณสมบัติตามที่ได้กำหนดไว้

ก่อนที่จะได้เป็นสถาปนิกนั้น จำเป็นที่ต้องมีข้อกำหนด ดังนี้

to be an architect (in England)
ในการที่จะเป็นสถาปนิกได้นั้น มีข้อกำหนด ดังนี้
                1. ได้รับปริญญาในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม จบการศึกษาแบบเต็มหลักสูตร และฝึกงานภายใต้การดูแลของสถาปนิกผู้ที่จดทะเบียนในประเทศอังกฤษหรือยุโรป ถ้าไม่มีคุณสมบัติตามนี้ สามารถมีการตรวจสอบตามมาตรฐานของ ARB หรือ
                2. ได้รับประกาศนียบัตรหรือปริญญาใบที่สองในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม และมีประสบการณ์ในการทำงานหลังเรียนจบอีก 2 ปี หลังจากรับปริญญาใบแรก และจากนั้นต้องมีการฝึกงานอีกหนึ่งปีภายใต้การดูแลของสถาปนิกผู้ที่จดทะเบียนในประเทศอังกฤษหรือยุโรป ถ้าไม่มีคุณสมบัติตามนี้ สามารถมีการตรวจสอบตามมาตรฐานของ ARB เช่นเดียวกับข้อที่ 1.
                3. ได้ทำการทดสอบ professional practice examination คือทดสอบความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ได้รับจากประสบการณ์ทั้งการเรียนและการฝึกอบรม

ทั้งนี้ในการดำเนินงานก็จะต้องมีผู้ที่เป็นคณะกรรมการคือ Professional Conduct Committee (PCC)
                คณะกรรมการ เป็นกรรมการที่ตั้งขึ้นในสิทธิตามกฎหมายและตามพระราชบัญญัติสถาปนิกของประเทศอังกฤษ
ซึ่งมีอำนาจในการตำหนิ ตักเตือน ปรับโทษ หรือระงับความเป็นสถาปนิกได้ ซึ่งจะเหมือนกับในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 มาตราที่ 7 และมาตราที่ 8 ซึ่งจะกล่าวถึงสภาสถาปนิกมีบทบาทอย่างไรบ้าง



การที่จะเป็นสถาปนิกในประเทศอังกฤษได้นั้น ต้องผ่านการรับรองจาก ARB ก่อน ส่วนในของประเทศไทย ก็จะมีหลายข้อย่อย  ๆ ที่คล้ายกัน โดยเฉพาะใน พ.ร.บ. 2543 ในมาตราที่ 50 ที่กล่าวว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก ซึ่งในเรื่องของจรรยาบรรณนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการประกอบวิชาชีพ...ส่วนในประเทศอังกฤษจะมีข้อกำหนดคร่าว  ๆ ดังนี้

·         พื้นฐานของการเป็นสถาปนิก :

- Be honest and act with integrity             
ต้องมีความซื่อสัตย์และกระทำการอย่างมีจรรยาบรรณ
- Be competent                                                   
มีความรู้ ความสามารถในการทำงาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีสติ
Promote your services honestly and responsibly                              
ให้บริการอย่างซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อหน้าที่
Manage your business competently       
มีการบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- Consider the wider impact of your work               
พิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากผลงานที่ออกแบบว่ามี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้องเพียงใด
Carry out your work faithfully and conscientiously           
พึงปฏิบัติต่อหน้าที่อย่างมีจิตสำนึกและมีความจริงใจ ทั้งในด้านของการออกแบบ  ความมีเหตุผล และตรงต่อเวลา
Be trustworthy and look after your clients’ money properly         
มีสัจจะ ในเรื่องที่สำคัญคือเรื่อง “เงิน” หรือ “ค่าใช้จ่าย” ซึ่งใน ARB ได้กล่าวไว้ในข้อที่ 2 ว่า ควรแยกบัญชีโดยแบ่งเป็น บัญชีของลูกค้า และบัญชีส่วนตัว ออกจากกัน
Have appropriate insurance arrangements          
มีการเตรียมประกันภัยที่เหมาะสม
Maintain the reputation of architects                     
รักษาชื่อเสียงของวิชาชีพสถาปนิก
Deal with disputes or complaints appropriately 
จัดการข้อพิพาทหรือข้อร้องเรียนอย่างเหมาะสม
Co-operate with regulatory requirements and investigations      
ร่วมมือกับข้อกำหนดและการตรวจสอบ
Have respect for others                                                
มีความเคารพผู้อื่น ในข้อนี้ถือว่าสำคัญต่อบุคคลอื่น  ๆ เป็นอย่างมาก เพราะอาจส่งผลกระทบถึงพวกเขาเหล่านั้นได้ ซึ่งเราควรมีความยุติธรรมและตั้งมั่น ไม่ควรจะแบ่งแยกไม่ว่าในกรณีใด  ๆ เช่น คนพิการ,คนแก่,เพศ 

         เนื่องจากอาชีพสถาปนิก เป็นอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับหลายบุคคล ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้อาคาร ผู้รับเหมา วิศวกร ซึ่งถ้าทำพลาดก็มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง จึงต้องมีการประกันภัย หรือ PII (Professional indemnity insurance)
สถาปนิกคาดว่าจะมีวงเงินชดเชยที่ไม่ต่ำกว่า 250,000 ปอนด์
         ในประเทศไทย ยังไม่มีการประกันภัยของสถาปนิก ซึ่งในส่วนนี้ก็มีความสำคัญต่ออาชีพเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าอาชีพสถาปนิกก็เป็นอาชีพที่เสี่ยงชีวิตพอสมควร ต้องเจอกับผู้คนหลากหลายอาชีพ ทั้งคนสุจริต ทุจริต ถือว่าเป็นส่งที่อันตรายมาก

ขอกล่าวถึงในการกำหนดคุณภาพของนักเรียนที่จะเป็นสถาปนิกต่อไปของ ARB ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
  • Design

         Design  ต้องเรียนรู้การวิเคราะห์แก้ปัญหา (analysis), การเก็บข้อมูล(research) ,บริบทโดยรอบ (context) งบประมาณ (budget), การเตรียมตัว,การพัฒนาแบบ และการเขียนรายงาน
         ขอบเขตของกฎหมาย ความปลอดภัย (safety) และการก่อสร้างอาคาร (building construction)
         ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม, ทฤษฎีทางสถาปัตยกรรม, วัฒนธรรม และกระบวนการออกแบบ
และต้องมีความสามารถในการ...

ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 
  • Technology & Environment

         ต้องมีความรู้พื้นฐานในการก่อสร้างอาคาร, การออกแบบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และรวมถึงวิธีในการก่อสร้าง
  • Cultural Context

         ต้องมีความรู้ทางประวัติศาสตร์ ทฤษฎี และการวางผัง ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมและต้องมีความสามารถในการตัดสินทางด้านความงาม การใช้วัสดุ (คล้ายๆกับที่ได้เรียนในวิชาอ.จิ๋ว)
  • Communication

         ต้องมีความสามารถในการสื่อสาร ทั้งในด้านการอ่าน พูด เขียน และการฟัง มีการสนทนากับคนอื่น  ๆ มีความเข้าใจและสามารถแสดงในลักษณะ 2 มิติ และ 3 มิติได้
Management, Practice & Law
         มีความรู้พื้นฐานในการบริหารจัดการ เช่น หากจะสร้างอาคารสักอาคารหนึ่ง จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง การกำหนดขอบเขตของงาน รวมถึงการติดต่อกับบุคคลภายนอก 

นอกเหนือจาก ARB แล้ว ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่องกับวิชาชีพสถาปนิกอีกหน่วยงานหนึ่ง คือ

RIBA (The Royal Institute of British Architects)
The Royal Institute of British Architects จะคล้าย  ๆ กับ สมาคมสถาปนิกสยาม ASA ในประเทศไทย  ซึ่งใน RIBA นี่ก็จะมีสมาชิกที่เป็นสถาปนิกต่าง  ๆ ที่มีมาตรฐานในการฝึกอบรม มีรางวัลให้กับผลงานที่มีความเหมาะสมกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่จะให้ในทุก  ๆ ปี
ในการที่จะได้มาซึ่งการเป็นสถาปนิกของ RIBA จะต้องผ่านการเรียนรู้ดังนี้
RIBA Part 1
ต้องได้วุฒิ BA หรือ BSc ตลอดหลักสูตร 3 ปีเต็ม เมื่อครบ 1 ปี จะได้เป็น RIBA Student Membership
Stage 1 Professional Experience / Year Out
ทำงานในบริษัทสถาปนิก เพื่อเก็บสะสมประสบการณ์ โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1 ปี และจะมีการเก็บบันทึกประสบกาณ์ใน PEDR website  โดยมีผู้ให้คำปรึกษาเป็นคนควบคุมการฝึกงาน
RIBA Part 2
เป็นการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ใช้เวลา 2 ปีเต็ม มีการให้โปรเจคที่มีความยาก และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นักศึกษาสามารถเลือกที่จะกลับไปศึกษาในส่วนที่ 1 ได้ หรือนำไปประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้กับสถาบันใหม่ก็ได้เช่นกัน
Stage 2 Professional Experience
เก็บสะสมประสบการณ์เหมือน part 1 ซึ่งจะมีการเรียนอย่างต่ำ 1 ปี และสามารถบันทึกใน record work เป็น  2 ปีได้ คือจะทดแทนเวลา 2 ปีในระบบการฝึกงาน
และต้องผ่านการฝึกฝนทางวิชาชีพอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะมีสิทธิ์สอบในส่วนที่ 3 ได้
RIBA Part 3
สามารถเลือกสาขาวิชาในการเรียนไหนของ RIBA ก็ได้ ซึ่งจะมีการประเมินดังนี้
-เวลาขั้นต่ำ 24 เดือนที่บันทึกประสบการณ์ทางวิชาชีพหรือฝึกงาน
-C.V. แบบวิชาชีพและแบบการประเมินผลงาน
-กรณีศึกษา
-การสอบข้อเขียน
-การสอบสัมภาษณ์
Architect
ในการสอบปฏิบัติ จะต้องผ่านการประเมินทางด้านความรู้ในการประกอบวิชาชีพ, ความสามารถ และประสบการณ์ทางวิชาชีพทีได้ฝึกฝนมา ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการตรวจสอบคุณสมบัติในการเป็นสถาปนิก และเมื่อผ่านก็สามารถไปสมัครเป็นสถาปนิกกับทาง ARB ได้

จะเห็นว่าข้อกำหนดวิชาชีพสถาปนิกในอังกฤษนั้น ก็คล้ายกับประเทศไทยของเรา ถึงแม้บางสิ่ง เช่น หลักสูตรการเรียนการสอนอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่ในพื้นฐานของการเป็นสถาปนิกนั้น สิ่งที่สำคัญที่สถาปนิกทุกคนควรมีก็คือ ความซื่อสัตย์และมีจรรยาบรรณต่อในอาชีพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายเพียงแต่อาชีพสถาปนิกเท่านั้น แต่ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ก็ต้องมีสิ่งเหล่านี้ด้วยอีกเช่นกัน

แหล่งที่มา http://www.architecture.com/Home.aspx
พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ. 2543






วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

01/08/2010

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการมา field trip เดินทางออกจากสุโขทัย ไปยังจังหวัดพิษณุโลก

@ วัดราชบูรณะ พิษณุโลก
ลักษณะอาคารแบบสุโขทัย โครงสร้าง และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง โครงสร้างหลังคาเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่ง มีเสาบัวคุ่ม โครงสร้างของวัดนี้ข้างหน้าและข้างหลังแตกต่างกันคือ ด้านหน้าจะมีเสาไปรับข้่างนอก แต่ด้านหลังเป็นกำแพงรับน้ำหนัก ข้อแตกต่างของวิหารโถงกับวิหารหลวงก็คือ วิหารโถง คือวิหารโล่ง แต่วิหารหลวง จะมีเจดีย์สำคัญอยู่ทางด้านหลัง

บรรยากาศภายในวิหาร

บน: ด้านหน้าของวิหาร
ล่าง: ด้านหลังของวิหาร

รัชกาลที่ 3 ทรงสั่งให้ซ่อมแซมจิตรกรรมฝาผนัง



ภายในวิหารก็มีการจัดแสดงของโบราณของรัชกาลต่าง ๆ

จักรยานโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

หลังจากที่ชมความงามของวัดราชบูรณะแล้ว ไม่ไกลก็ีมีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร


@ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พระพุทธชินราช) พิษณุโลก
เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินราช โดยผังบริเวณจะมีวิหารหลวงที่มีพระพุทธชินราช ตั้งอยู่หน้าพระปรางค์ โดยมีมุกยื่นออกมา และวิหารคดจะโอบล้อมรอบบริเวณทั้งหมด และสี่มุมจะมีวิหารทิศเชื่อมต่อกับวิหารคด เมื่อมองเข้ามาจะเห็นพระพุทธชินราชอยู่ตรงกลาง


สถาปัตยกรรมของพิษณุโลกที่จะให้ความสำคัญกับการเดินวนรอบ และให้ความสำคัญกับพื้นที่ภายในด้วย มีการเว้นระยะให้สามารถเห็นองค์พระ มีการเชื่อมโยงพื้นที่แต่ละพื้นที่ เพื่อให้เห็นวิหารชัดขึ้น ซึ่งจะแตกต่างกับสุโขทัยที่มีเจดีย์เต็มไปหมด 


ภายในวิหารคต
วิหารคต หรือระเบียงคต วิหารทิศก็หมายความว่ามี 4 ทิศ

หลังจากนั้นก็แวะซื้อของฝาก และออกเดินทางกลับกรุงเทพ ฯ...
ระหว่างทางที่กลับก็ทำให้ได้คิดอะไรหลาย ๆ อย่าง ได้ทบทวนความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาใน 9 วัน เปลี่ยนความคิดในหลาย ๆ ด้าน และการมองเห็นในสิ่งที่แตกต่างออกไป มีความรู้สึกประทับใจในงานพื้นถิ่นและความคิดของคนโบราณที่สามารถประยุกต์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสภาพแวดล้อมเดิม เมื่อก่อนที่เรามองบ้านสังกะสีแล้วก็ดูธรรมดา มองผ่านไป แต่เมื่อได้มาออกทริปครั้งนี้ก็เปลี่ยนไป จากของธรรมดาที่หลายคน แม้กระทั่งชาวบ้านมองข้ามไป ไม่เห็นคุณค่า แต่ความจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนมีคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างมาก น่าเสียดายที่อีกหน่อยอาจจะไม่มีให้เห็น เพราะความเจริญเข้ามา การใช้วัสดุ ค่านิยมต่าง  ๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย

ขอบคุณอาจารย์จิ๋ว อาจารย์ทุกท่าน รวมถึงผู้ให้ความรู้คนอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ที่ให้ความรู้และทัศนคติที่ดีในหลายแง่มุม  ขอบคุณค่ะ ^^

31/07/2010

@ กงไกรลาศ สุโขทัย
ชุมชนกงไกรลาศ มีวิธีการใช้งานไม้  การทำห้องแถว อยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ เป็นชุมชนตลาด สามารถพัฒนาเป็น shopping mall ได้ มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์

ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนจีนร้อยละ 90 มีการทำมาหากิน ซื้อข้าว ใส่เรือ ลากไปขาย ปัจจุบันมีถนนกว้างเพราะทางซ้าย เป็นล้อเดิน ทางขวา เป็นคนเดิน
คนกงไกรลาศอาชีพเดิมก็ทำนา มีปลา ปลานีออนส่งตลาดไทย สิ่งที่ภูมิใจก็คือ ชาวกงไกรลาศจะไม่มีเรื่องกับใคร มีบ่ออนามัยมากที่สุด ต่างคนก็ต่างทำมาหากิน


จากที่ดูลักษณะชีวิตของคนกงไกรลาศแล้ว เราก็มากินข้าวที่บ้านอ.ตี๋..ซึ่งความรู้ที่ได้มาเหล่านี้ก็ได้มาจากคุณลุงของอ.ตี๋นั่นเอง
บรรยากาศที่นั่งหลังบ้าน ติดกับคลอง

สนามหญ้าเขียวขจี

@ สนามบินสุโขทัย
ในการออกแบบสนามบินสุโขทัย จะสนใจเรื่องวัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นของ Bangkok Airways ถึงแม้จะไม่ใช่สุโขทัยแท้ แต่ก็มีกลิ่นอายของสุโขทัยแฝงอยู่


ได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าวัดที่ต้องผ่านศาลา เลยปรับให้เป็นทางเข้าอาคาร และไม่จำเป็นต้องศึกษาและทำแบบโครงสร้างของฝรั่ง แต่สามารถนำของเดิมมาใช้ได้ ใช้วัสดุของไทยให้มากที่สุด
การใช้ไม้เป็นโครงสร้างหลัก ไม้กลอน จันทัน ระแนง ไม่ตีฝ้า
ผู้ออกแบบเน้นการสร้างบริเวณแวดล้อมให้เป็นไทย ใช้ที่กว้างเป็นที่ปลูกหญ้าคาร จะสอดคล้องกับแถบเอเชีย-อินโดนีเซีย (บาหลี) และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการทำที่นา ปลูกข้าว เลี้ยงควาย เพราะแทรกเตอร์ต้องใช้น้ำมัน ทำให้สิ้นเปลื่องทั้งเงินและพลังงาน สิ่งที่่น่าประทับใจก็คือการทำให้ภูมิปัญญาของชาวบ้านไม่สูญเปล่า ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพ มีงานทำและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  และทำให้มีคุณค่ามากขึ้น ไม่ละทิ้งสมบัติของชาติบ้านเมืองเรา


นั่งรถรางเยี่ยมชม การสร้างอาชีพให้ชาวบ้าน และการนำพืชพรรณมาใช้ในโครงการ
นั่งรถรางไปถึง runway ไปจนถึงโรงแรมสุโขทัย

@ โรงแรมสุโขทัย
ยึดหลักเมืองเก่าของสุโขทัย มีอาคารหลัก อาคารรอง และมีน้ำล้อมรอบ เป็นหลักการของเมืองเก่า

มีการเจาะช่องทางตั้ง และการใช้วัสดุที่เป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัย

ซึ่งโรงแรมที่นี่มี 68 ห้อง แบ่งเป็น 4 type มี superior deluxe suit และ royal suit


หลังจากนั้นก็แวะไปดูชุมชนพื้นถิ่นกันต่อ..










วันนี้ถ่ายกันจนแดดหมดกันเลยทีเดียว สังเกตว่าวันหลัง ๆ เราเริ่มจะมองและจับประเด็นได้บ้างแล้ว