วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

01/08/2010

วันนี้เป็นวันสุดท้ายของการมา field trip เดินทางออกจากสุโขทัย ไปยังจังหวัดพิษณุโลก

@ วัดราชบูรณะ พิษณุโลก
ลักษณะอาคารแบบสุโขทัย โครงสร้าง และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง โครงสร้างหลังคาเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่ง มีเสาบัวคุ่ม โครงสร้างของวัดนี้ข้างหน้าและข้างหลังแตกต่างกันคือ ด้านหน้าจะมีเสาไปรับข้่างนอก แต่ด้านหลังเป็นกำแพงรับน้ำหนัก ข้อแตกต่างของวิหารโถงกับวิหารหลวงก็คือ วิหารโถง คือวิหารโล่ง แต่วิหารหลวง จะมีเจดีย์สำคัญอยู่ทางด้านหลัง

บรรยากาศภายในวิหาร

บน: ด้านหน้าของวิหาร
ล่าง: ด้านหลังของวิหาร

รัชกาลที่ 3 ทรงสั่งให้ซ่อมแซมจิตรกรรมฝาผนัง



ภายในวิหารก็มีการจัดแสดงของโบราณของรัชกาลต่าง ๆ

จักรยานโบราณสมัยรัชกาลที่ 5

หลังจากที่ชมความงามของวัดราชบูรณะแล้ว ไม่ไกลก็ีมีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร


@ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พระพุทธชินราช) พิษณุโลก
เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินราช โดยผังบริเวณจะมีวิหารหลวงที่มีพระพุทธชินราช ตั้งอยู่หน้าพระปรางค์ โดยมีมุกยื่นออกมา และวิหารคดจะโอบล้อมรอบบริเวณทั้งหมด และสี่มุมจะมีวิหารทิศเชื่อมต่อกับวิหารคด เมื่อมองเข้ามาจะเห็นพระพุทธชินราชอยู่ตรงกลาง


สถาปัตยกรรมของพิษณุโลกที่จะให้ความสำคัญกับการเดินวนรอบ และให้ความสำคัญกับพื้นที่ภายในด้วย มีการเว้นระยะให้สามารถเห็นองค์พระ มีการเชื่อมโยงพื้นที่แต่ละพื้นที่ เพื่อให้เห็นวิหารชัดขึ้น ซึ่งจะแตกต่างกับสุโขทัยที่มีเจดีย์เต็มไปหมด 


ภายในวิหารคต
วิหารคต หรือระเบียงคต วิหารทิศก็หมายความว่ามี 4 ทิศ

หลังจากนั้นก็แวะซื้อของฝาก และออกเดินทางกลับกรุงเทพ ฯ...
ระหว่างทางที่กลับก็ทำให้ได้คิดอะไรหลาย ๆ อย่าง ได้ทบทวนความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาใน 9 วัน เปลี่ยนความคิดในหลาย ๆ ด้าน และการมองเห็นในสิ่งที่แตกต่างออกไป มีความรู้สึกประทับใจในงานพื้นถิ่นและความคิดของคนโบราณที่สามารถประยุกต์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสภาพแวดล้อมเดิม เมื่อก่อนที่เรามองบ้านสังกะสีแล้วก็ดูธรรมดา มองผ่านไป แต่เมื่อได้มาออกทริปครั้งนี้ก็เปลี่ยนไป จากของธรรมดาที่หลายคน แม้กระทั่งชาวบ้านมองข้ามไป ไม่เห็นคุณค่า แต่ความจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนมีคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างมาก น่าเสียดายที่อีกหน่อยอาจจะไม่มีให้เห็น เพราะความเจริญเข้ามา การใช้วัสดุ ค่านิยมต่าง  ๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย

ขอบคุณอาจารย์จิ๋ว อาจารย์ทุกท่าน รวมถึงผู้ให้ความรู้คนอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ที่ให้ความรู้และทัศนคติที่ดีในหลายแง่มุม  ขอบคุณค่ะ ^^

31/07/2010

@ กงไกรลาศ สุโขทัย
ชุมชนกงไกรลาศ มีวิธีการใช้งานไม้  การทำห้องแถว อยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ เป็นชุมชนตลาด สามารถพัฒนาเป็น shopping mall ได้ มีลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์

ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนจีนร้อยละ 90 มีการทำมาหากิน ซื้อข้าว ใส่เรือ ลากไปขาย ปัจจุบันมีถนนกว้างเพราะทางซ้าย เป็นล้อเดิน ทางขวา เป็นคนเดิน
คนกงไกรลาศอาชีพเดิมก็ทำนา มีปลา ปลานีออนส่งตลาดไทย สิ่งที่ภูมิใจก็คือ ชาวกงไกรลาศจะไม่มีเรื่องกับใคร มีบ่ออนามัยมากที่สุด ต่างคนก็ต่างทำมาหากิน


จากที่ดูลักษณะชีวิตของคนกงไกรลาศแล้ว เราก็มากินข้าวที่บ้านอ.ตี๋..ซึ่งความรู้ที่ได้มาเหล่านี้ก็ได้มาจากคุณลุงของอ.ตี๋นั่นเอง
บรรยากาศที่นั่งหลังบ้าน ติดกับคลอง

สนามหญ้าเขียวขจี

@ สนามบินสุโขทัย
ในการออกแบบสนามบินสุโขทัย จะสนใจเรื่องวัฒนธรรมดั้งเดิมเป็นของ Bangkok Airways ถึงแม้จะไม่ใช่สุโขทัยแท้ แต่ก็มีกลิ่นอายของสุโขทัยแฝงอยู่


ได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าวัดที่ต้องผ่านศาลา เลยปรับให้เป็นทางเข้าอาคาร และไม่จำเป็นต้องศึกษาและทำแบบโครงสร้างของฝรั่ง แต่สามารถนำของเดิมมาใช้ได้ ใช้วัสดุของไทยให้มากที่สุด
การใช้ไม้เป็นโครงสร้างหลัก ไม้กลอน จันทัน ระแนง ไม่ตีฝ้า
ผู้ออกแบบเน้นการสร้างบริเวณแวดล้อมให้เป็นไทย ใช้ที่กว้างเป็นที่ปลูกหญ้าคาร จะสอดคล้องกับแถบเอเชีย-อินโดนีเซีย (บาหลี) และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการทำที่นา ปลูกข้าว เลี้ยงควาย เพราะแทรกเตอร์ต้องใช้น้ำมัน ทำให้สิ้นเปลื่องทั้งเงินและพลังงาน สิ่งที่่น่าประทับใจก็คือการทำให้ภูมิปัญญาของชาวบ้านไม่สูญเปล่า ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพ มีงานทำและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม  และทำให้มีคุณค่ามากขึ้น ไม่ละทิ้งสมบัติของชาติบ้านเมืองเรา


นั่งรถรางเยี่ยมชม การสร้างอาชีพให้ชาวบ้าน และการนำพืชพรรณมาใช้ในโครงการ
นั่งรถรางไปถึง runway ไปจนถึงโรงแรมสุโขทัย

@ โรงแรมสุโขทัย
ยึดหลักเมืองเก่าของสุโขทัย มีอาคารหลัก อาคารรอง และมีน้ำล้อมรอบ เป็นหลักการของเมืองเก่า

มีการเจาะช่องทางตั้ง และการใช้วัสดุที่เป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัย

ซึ่งโรงแรมที่นี่มี 68 ห้อง แบ่งเป็น 4 type มี superior deluxe suit และ royal suit


หลังจากนั้นก็แวะไปดูชุมชนพื้นถิ่นกันต่อ..










วันนี้ถ่ายกันจนแดดหมดกันเลยทีเดียว สังเกตว่าวันหลัง ๆ เราเริ่มจะมองและจับประเด็นได้บ้างแล้ว  

30/07/2010

@ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย วัดพระศรีมหาธาตุราชวรวิหาร สุโขทัย

ลักษณะของวัดที่เห็นได้ชัดก็คือ มีแนวกำแพงศิลาแลง การเจาะ่ช่อง การโชว์แนวอิฐ  และวัดมหาธาตุฯจะมีภูเขาโอบล้อมรอบ และมีเจดีย์ และวัดล้อมรอบตามเส้นแกน


เป็นเจดีย์พระปรางค์ ได้มีการสันนิษฐานว่าสร้างหลังสุโขทัย มี 3 ชั้น จะมีส่วนพระ ส่วนชาวบ้าน และมีความเชื่อว่าจะวางพระหล่อโลหะ กำแพงเป็นศิลาแลงทั้งท่อน กำแพงเสาไม้เป็นรั้วรอบเมือง หลังจากนั้นกลายเป็นศิลาแลง มีการเจาะช่องหน้าต่าง



ทางขวามือเป็นพระนาคปรก เสาเล็ก ๆ สันนิษฐานว่าเป็นเสาประทีป หัวเสาเป็นลายปั้นปูน มีพระปรางค์ลีลา เป็นคุณค่าของงานประติมากรรม เป็นพระปรางค์ที่สวยที่สุด ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขอมเยอะ มีเส้นแกนที่เป็นลักษณะสมมาตรกัน รู้สึกถึงความสง่างาม



ภาพสเกตช์
นั่งรถต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก็ลงจอดที่วัดกุฎีราย

@ วัดกุฎีราย สุโขทัย
ได้มีการสันนิษฐานว่าถือต้นฉบับของหลังคาสุโขทัย การเรียงอิฐให้เหมือนกับฝาปะกนไม้ ทำให้เห็นพัฒนาการว่าสมัยก่อนทำด้วยไม้ แล้วมีการนำศิลาแลงมาใช้ และสันนิษฐานอีกว่าข้างหน้าเป็นอาคารโปร่ง เป็นอาคารวิหารที่เป็นโบสถ์ ซึ่งการวางอาคารของวัดกุฎีราย ได้รับรางวัลจากสมาคมสถาปนิก



จากนั้นนั่งรถแวะไปต่อที่ชุมชน
บ้านหลังนี้ทำให้เกิดความประทับใจมาก ๆ เห็นการเล่นระดับของพื้นที่ส่วนต่าง  ๆ และสามารถมองทะลุผ่านเข้าไปถึงข้างในได้ การเล่นจังหวะของแต่ละองค์ประกอบทำได้ดีมาก ๆ




จนต้องสเกตช์..

ในละแวกนั้นก็มีบ้านพื้นถิ่นอีกหลายหลัง..
การใช้วัสดุธรรมชาติ ทำให้มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมภายนอก
จากนั้นก็ไปต่อกันที่วัดเจดีย์เก้ายอด


@ วัดเจดีย์เก้ายอด สุโขทัย
วัดเจดีย์เก้ายอด สร้างบนเนินเขา มีการเล่นระดับ เป็นการแก้ปัญหาของคนโบราณ และที่สำคัญคือไม่ทำลายสภาพแวดล้อมเดิม สามารถสร้างอาคารบนเนินเขาโดยใช้ศิลาแลงทำเป็นขั้น ๆ และปรับความสูงความเตี้ยในการเล่นระดับ โดยไม่ทำลายความเป็นลักษณะของอิฐ

การเล่นระดับโดยใช้ศิลาแลง

@ วัดนางพญา สุโขทัย
การเปิดช่องตามแนวตั้ง เกิดจากการเรียงอิฐ การวางศิลาแลงเว้นช่อง การตกแต่งไม่ใ่ช่แค่มีลักษณะเว้นช่องเท่านั้น ในสมัยอยุธยาตอนต้น มีการสันนิษฐานว่าลวดลายส่วนใหญ่จะเป็นลายพรรณพฤกษา (ลายใบ) สมัยสุโขทัยมีการผูกลาย โดยการซ้อน  ๆ กัน นำมาไขว้กันเกี่ยวกันไปเรื่อย  ๆ บางลายเหมือนลายที่ซ้อนกันไปเรื่อย  ๆ


-เสานางเรียง,เสาพาไล เป็นเสาที่รับกันสาดหลังคารอบ ๆ อาคาร ถ้ามีลายวิจิตรมากจะมีหลังคา ถ้าไม่ประดับลายก็จะไม่มีหลังคายื่นไป
-เสาประทีป สำหรับตั้งดวงไฟ
สเก็ตเสาประทีปและเสานางเรียง
เสาประทีป
เดินเท้าต่อไป..


@ วัดเจดีย์เจ็ดแถว สุโขทัย

เดินต่อไปอีก..


@ วัดช้างล้อม สุโขทัย
หลังจากที่เดินมาตลอดทาง เริ่มแวะถ่ายรูปนานไปหน่อย พอถึงวัดช้างล้อมก็นั่งพักสักครู่ ปรากฏว่าเพื่อน ๆ ขึ้นไปกันหมดแล้ว เลยนั่งสเก็ตรูปรอดีกว่า 



พระอาทิตย์เริ่มตกแล้ว..
พระอาทิตย์ตกก็กลับโรงแรม เตรียมตัวสู่วันพรุ่งนี้..

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

29/07/2010




วันนี้ออกเดินทางแต่เช้าเช่นเคย แต่วันนี้พิเศษกว่าคือจะไปจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ที่มีเมืองลับแล ฟังตอนแรกเข้าใจว่าเมืองลับแลน่าจะเป็นเมืองที่มีบรรยากาศน่ากลัว อึมครึม ฟังดูเหมือนลึกลับ(เพราะฟังจากชื่อ) แต่ก่อนหน้านั้นก็แวะไปดูชุมชนพื้นถิ่นก่อน

@ ชุมชนบ้านไผ่เขียว ต.ไผ่ล้อม อุตรดิตถ์



บ้านพื้นถิ่นแต่ละหลัง ล้วนแล้วแต่มีเสน่ห์ที่แตกต่างกัน บางหลังก็มีผนังที่เก๋ บางหลังก็มีสวนสวย หรือบางหลังก็มีรั้วที่แปลกตา แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากช่างหรือชาวบ้าน
บริเวณใต้ถุนบ้าน การวางไม้ที่เป็นระเบียบ ทำให้เกิดความงาม

ได้เวลาขึ้นรถไปเมืองลับแล...เค้าว่ากันว่าเป็นเมืองที่ต้องพูดแต่ความจริง แล้วเราก็มุ่งตรงสู่วัดดอนสัก

@ วัดดอนสัก อ.ลับแล ต.ฝายหลวง อุตรดิตถ์
เมืองลับแลเป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องการมีผลไม้ที่อุดมสมบูรณ์ของภาคเหนือ มีทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม มีสายน้ำไหลผ่าน และวัดดอนสักก็เช่นกัน มีการปลูกต้นไม้ร่มรื่นทั้งวัด ทำให้บรรยากาศนั้นแสนจะเย็นสบาย มองไปมีแต่สีเขียวของธรรมชาติตัดกับสีน้ำตาลของดิน


วันนี้อ.ไก่ก็ได้ซื้อของมาทำบุญที่วัดเป็น เทียนพรรษา หรือจะเรียกให้ถูกก็คงเป็นหลอดไฟพรรษา ทำบุญร่วมกันกับเพื่อน ๆ พี่ ๆ และอาจารย์หลาย ๆคน ก็อิ่มบุญไปตาม ๆ กัน (ต้องขอบคุณอ.ไ่ก่ด้วยค่ะ)
พูดถึงโครงสร้างของวัดดอนสัก โครงสร้างหลังคาและบานประตูนั้นทำมาจากไม้ มีการโชว์โครงสร้างภายใน และลายประตูก็มีการเล่นลวดลายวิจิตรพิสดาร ซึ่งบานประตูนั้นเคยถูกขโมยไป ทำให้องค์ประกอบของวัดนี้ไม่สมบูรณ์ เพราะจุดเด่นของวัดนี้ก็คือลวดลายประตู 

ลวดลายประตูเหมือนดักแด้ขมวดใบหม่อน
 ในการก่อสร้าง ช่างก่อสร้างก็มีการคิดลวดลายกับโครงสร้างไปพร้อม ๆ กัน คิดอย่างมีสัดส่วนที่ให้อาคารดูสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ภูมิทัศน์โดยรอบวัด มองออกไปก็เห็นท้องนา มีสวนผลไม้หลายร้อยปี มีความร่มรื่น อุดมสมบูรณ์ เรียกว่า Garden city คืออยู่กันคนละสวน แต่ก็สามารถเดินถึงกันได้หมด

ความร่มรื่นของวัดดอนสัก
หลังจากทำบุญและได้รับความรู้มาเรียบร้อยแล้ว ก็ออกเดินทางไปชุมชนพื้นถิ่น...

ต้นไม้ที่เป็นจุดนำสายตาเข้าสู่ตัวบ้าน
 หลังจากนั้นก็เดินทางกลับสุโขทัย และเตรียมตัวลุยต่อวันพรุ่งนี้ 






28/07/2010

วันนี้เป็นวันแรกที่อยู่จังหวัดสุโขทัย ขึ้นรถแต่เช้า ก็แวะไปที่สรีดภงส์ ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำของจังหวัดสุโขทัย


@ สรีดภงส์ (ทำนบพระร่วง) สุโขทัย
ถือเป็นระบบชลประทานโบราณ มีภูเขาขนาบข้าง และมีน้ำจากลำธารไหลลงมา แจกออกไปเป็นคลองหรือแอ่งน้ำเพื่อเข้าสู่ตัวเมือง น้ำก็จะซึมบริเวณใต้ดิน ชาวบ้านก็ขุดน้ำไปใช้ได้และวิวัฒนาการต่อเป็นการทำท่อดินเผา ซึ่งเป็นระบบชลประทานที่มีการเข้าใจเรื่องของการชลประทานสูงมาก


สนุกสนานๆ
ต่อจากนั้นแวะไปโบราณสถานที่ต่อไปนั่นคือ..อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

วัดแรกคือ วัดมังกร

@ วัดมังกร สุโขทัย
วัดมังกรตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของสุโขทัย ซึ่งมีภูเขาล้อมรอบ และมีการใช้เซรามิกส์ กำแพงแก้ว และเจดีย์ทรงลังกาที่วางขนาบด้านข้าง


ซึ่งวัสดุที่ใช้ในสถาปัตยกรรมของสุโขทัยนั้นมี ศิลาแลง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัย ศิลาแลงเมื่อเจออากาศแล้วจะแข็ง โครงสร้างของวัดนี้เหมือนกับวัดลำปางหลวง และวัดปงยางคกที่ได้ไปมา


บ่อน้ำโบราณ ใช้ศิลาแลงเป็นโครง ซึ่งจะมีน้ำให้ใช้ตลอดปี เพราะมีน้ำใต้ดินซึมเข้ามา

หลังจากนั้นก็ออกเดินทางถ่ายรูปวัดต่าง  ๆ ตั้งแต่วัดถ้ำหินล่าง วัดถ้ำหินบน วัดเจดีย์งาม วัดกำแพงหิน วันเขาพระบาทน้อย วัดอรัญญิก วัดสะพานหิน 

@ วัดมหาธาตุ สุโขทัย
ด้านหน้าของวัดมหาธาตุเป็นวัด มีวิหารหลวงเป็นวิหารประธาน มีบ่อน้ำอยู่ทางด้านหน้า และมีกำแพงเตี้ย ๆ เป็นเส้นระนาบนอน และในแต่ละด้านจะมีวิหาร พอเข้าไปเห็นเนินปราสาท ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของพระเจ้าแผ่นดิน และมีบริวาร 8 อัน ทรงพระปรางค์จะอยู่ต่ำลงมา ลักษณะเจดีย์เป็นแบบซ้อนชั้น เป็นแบบพุ่มข้าวบิณฑ์ 


ในสมัยก่อนนั้นมีการแบ่งการปกครองออกเป็นแคว้น ต่างคนก็ต่างมีอิสระต่อกัน ต่อมาภายหลังต้องต้อนผู้คนให้อยู่เมืองอยุธยาหมด สุโขทัยก็เลยกลายเป็นเมืองร้าง


บริเวณฐานจะเป็นการปั้นรูปพระสงฆ์ และการหัันหน้าของพระสงฆ์นั้นจะหันไปทางซ้ายไปขวา และมีลักษณะเดินรอบ ๆ วิหาร เพื่อระลึกถึงบุญคุณของพระบรมสารีริกธาตุ และจะมีเส้นแกนระหว่างเจดีย์กับวิหาร เมื่อเข้าถึงประตูก็มีการนำสายตาโดยใช้เส้นของกำแพง
การเรียงอิฐโชว์แนวนั้น สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับงานสมัยใหม่ได้ และการเรียงอิฐ การเจาะช่อง การย่อมุม ถือเป็นสัญลักษณ์ของสุโขทัย และวัดนี้ก็ถือเป็นวัดใหญ่ของสุโขทัย รัชกาลที่ 4 เคยมาธุดงค์

ด.ร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้แปลภาษาที่เชี่ยวชาญ ได้มีความพยายามที่จะแกะภาษาโบราณ และได้ใจความว่า..เมืองศรีสัชนาลัย เป็นเมืองลูกหลวง เมืองพี่เมืองน้อง และมีโบราณสถานอยู่ 3 แห่งคือ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย และกำแพงเพชร

แวะกินข้าวกลางวันที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่มีการสร้างบรรยากาศให้เหมือนอดีต พยายามย้อนรอยอดีตด้วยการนำสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยมาใส่ไว้ในอาคาร เช่นการทำตัวเหงาแบบขมวด ซึ่งเป็นก้นหอย และการนำวัสดุใหม่มาใช้ร่วมกับไม้คือเสาคอนกรีต


เดินทางมุ่งสู่วัดต่อไปคือ วัดพระพายหลวง

@ วัดพระพายหลวง สุโขทัย
ในสมัยก่อนศิลาแลงสามารถขุดหาได้ง่าย นำมาซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ถือว่าเป็นสุดยอดของความจริงแท้ ในแต่ละชั้นก็จะเป็นวิมานของเทพแต่ละองค์ เป็นเรื่องราวของเทพเจ้าในปรางค์ต่าง  ๆ


เมื่อยุคของขอมเริ่มหมดอำนาจ สุโขทัยก็เริ่มมีการต่อเติม เป็นพระปรางค์แบบขอมรวมกับแบบสุโขทัย โบสถ์ก็จะมีใบเสมา มีวิหารทำพิธีกรรม คล้ายวัดข่วงกอม มีหน้าที่เป็นศาลาการเปรียญ เจดีย์ซ้อนเจดีย์ รัชกาลที่ 1 ทรงเอาพระไปซ่อมแซมแล้วไปไว้ที่วัดโพธิ์ รูปลักษณ์ของพระปรางค์ก็จะบอกถึงความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และวัดนี้ถือเป็นการผสมผสานระหว่างศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา


เดินทางมาถึงวัดศรีชุม


@ วัดศรีชุม สุโขทัย
บริเวณด้านหน้ามีวิหารเล็ก  ๆ พระพุทธรูปด้านหน้าองค์ใหญ่เรียกว่า พระอาจนะ บนเพดานจารึกพระเจ้า 500 ชาติเอาไว้ และมีต้นมะม่วงป่าอายุ 700 ปีมาแล้ว ซึ่งต้นไม้เป็นตัวบ่งบอกกาลเวลา ที่อยู่ร่วมกับโบราณสถานในแต่ละที่ ทำให้เราได้เห็นคุณค่า


มีวิหารเล็ก ๆอยู่ทางด้านหน้า
วัดสุดท้ายของวันนี้คือวัดศรีสวาย

@ วัดศรีสวาย สุโขทัย
วัดศรีสวาย ถือว่าเป็นตัวอย่างในการก่อศิลาแลง มีซุ้มประตูทางเข้าเป็นเส้นแกน หันหน้าไปทางทิศเหนือ 
สิ่งสำคัญคือลายปั้นปูนประดับตัวปรางค์ การเปลือยเปล่าของปูนฉาบ เห็นแนวอิฐเล็กใหญ่สลักกับศิลาแลง มีการเจาะรูผนังอย่างลงตัว ทำให้เกิดเส้นตั้งเส้นนอนที่มีความสวยงาม


มีการวาง pattern กำแพง การเล่นความลึก-ตื้นของผนัง ใช้อิฐที่ขนาดไม่เท่ากันนำมาเรียงกันแล้วก่อให้เกิดพื้นผิวที่มีความแตกต่าง ซึ่งเทคนิคเหล่านี้น่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานร่วมสมัยได้(อีกเช่นเคย)
ผนังที่มีการเล่นจังหวะและพื้นผิว (แถมนางแบบด้วย)
หลังจากที่แวะชมวัดโบราณอย่างหนำใจแล้ว ก็ออกเดินทางต่อ คราวนี้ไปที่หมู่บ้านสังคโลก

@ หมู่บ้านสังคโลก สุโขทัย
จากการที่ได้ซึมซับความรู้และการมองมาหลายวัน เริ่มจะมองเห็นถึงความงามของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ลานโล่ง วัสดุ และอีกหลาย ๆ อย่าง รวมถึงการมองให้ลึกเข้าไปในด้านการเจาะช่อง การใช้จังหวะของพื้นผิว ต้นไม้ที่ปลูก ซึ่งทำให้มุมมองของเราเปิดกว้างมากขึ้น

ต้นไม้ประดับลานบ้าน มีทั้งไม้ที่ให้ร่มเงาและืพืชผักสวนครัว
อย่างบ้านหลังนี้ ก็มีการเ่ล่นวัสดุที่ใช้คือ สังกะสี ไม้ระแนง นำมาวางให้เกิด pattern ที่แตกต่างกัน ยังมีใต้ถุนบ้านที่มีความโปร่งโล่ง ลดความทึบของผนังไม้ที่อยู่ด้านข้าง ขนาดของไม้ที่แตกต่างกันทำให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น เราควรต้องรู้จักและทำความเข้าใจภาษาของชาวบ้านให้ได้มากที่สุด เพื่อการออกแบบงานแต่ละท้องถิ่นให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
สังกะสี ไม้ ทำให้เกิดจังหวะของผนัง


บ้านพื้นถิ่นแต่ให้บรรยากาศเป็นบ้านร่วมสมัยมากๆ

บ้านแต่ละหลังก็จะมีความพิเศษแตกต่างกันออกไป
วันนี้กว่าจะถ่ายเสร็จฟ้าก็เริ่มมืด ได้เวลากลับที่พักแล้ว นั่งรถก็หลับสบายมาก..หมดไปอีกหนึ่งวัน