วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อกำหนดวิชาชีพสถาปนิก สหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ)

ในประเทศอังกฤษ..มีหน่วยงานที่สำคัญ  ๆ อยู่ 2 หน่วยงานหลัก  ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปนิกโดยตรง นั่นก็คื

  • ARB (Architect Registration Board) 
  • RIBA (The Royal Institute of British Architect)








ARB (Architect Registration Board)

ARB เป็นศูนย์รวมของวิชาชีพสถาปัตยกรรม และควบคุมกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพสถาปนิก (มีหน้าที่คล้ายๆกับสภาสถาปนิกในประเทศไทย)  และกำหนดมาตรฐานของวิชาชีพสถาปนิก ที่เรียกว่า 
Architects Code: Standards of Conduct and Competence ซึ่งถือเป็นข้อกำหนดพื้นฐานที่สถาปนิกควรปฏิบัติหรือมีคุณสมบัติตามที่ได้กำหนดไว้

ก่อนที่จะได้เป็นสถาปนิกนั้น จำเป็นที่ต้องมีข้อกำหนด ดังนี้

to be an architect (in England)
ในการที่จะเป็นสถาปนิกได้นั้น มีข้อกำหนด ดังนี้
                1. ได้รับปริญญาในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม จบการศึกษาแบบเต็มหลักสูตร และฝึกงานภายใต้การดูแลของสถาปนิกผู้ที่จดทะเบียนในประเทศอังกฤษหรือยุโรป ถ้าไม่มีคุณสมบัติตามนี้ สามารถมีการตรวจสอบตามมาตรฐานของ ARB หรือ
                2. ได้รับประกาศนียบัตรหรือปริญญาใบที่สองในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม และมีประสบการณ์ในการทำงานหลังเรียนจบอีก 2 ปี หลังจากรับปริญญาใบแรก และจากนั้นต้องมีการฝึกงานอีกหนึ่งปีภายใต้การดูแลของสถาปนิกผู้ที่จดทะเบียนในประเทศอังกฤษหรือยุโรป ถ้าไม่มีคุณสมบัติตามนี้ สามารถมีการตรวจสอบตามมาตรฐานของ ARB เช่นเดียวกับข้อที่ 1.
                3. ได้ทำการทดสอบ professional practice examination คือทดสอบความรู้ความเข้าใจและทักษะที่ได้รับจากประสบการณ์ทั้งการเรียนและการฝึกอบรม

ทั้งนี้ในการดำเนินงานก็จะต้องมีผู้ที่เป็นคณะกรรมการคือ Professional Conduct Committee (PCC)
                คณะกรรมการ เป็นกรรมการที่ตั้งขึ้นในสิทธิตามกฎหมายและตามพระราชบัญญัติสถาปนิกของประเทศอังกฤษ
ซึ่งมีอำนาจในการตำหนิ ตักเตือน ปรับโทษ หรือระงับความเป็นสถาปนิกได้ ซึ่งจะเหมือนกับในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 มาตราที่ 7 และมาตราที่ 8 ซึ่งจะกล่าวถึงสภาสถาปนิกมีบทบาทอย่างไรบ้าง



การที่จะเป็นสถาปนิกในประเทศอังกฤษได้นั้น ต้องผ่านการรับรองจาก ARB ก่อน ส่วนในของประเทศไทย ก็จะมีหลายข้อย่อย  ๆ ที่คล้ายกัน โดยเฉพาะใน พ.ร.บ. 2543 ในมาตราที่ 50 ที่กล่าวว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพสถาปัตยกรรมตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาสถาปนิก ซึ่งในเรื่องของจรรยาบรรณนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการประกอบวิชาชีพ...ส่วนในประเทศอังกฤษจะมีข้อกำหนดคร่าว  ๆ ดังนี้

·         พื้นฐานของการเป็นสถาปนิก :

- Be honest and act with integrity             
ต้องมีความซื่อสัตย์และกระทำการอย่างมีจรรยาบรรณ
- Be competent                                                   
มีความรู้ ความสามารถในการทำงาน รวมถึงการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีสติ
Promote your services honestly and responsibly                              
ให้บริการอย่างซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อหน้าที่
Manage your business competently       
มีการบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- Consider the wider impact of your work               
พิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากผลงานที่ออกแบบว่ามี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้องเพียงใด
Carry out your work faithfully and conscientiously           
พึงปฏิบัติต่อหน้าที่อย่างมีจิตสำนึกและมีความจริงใจ ทั้งในด้านของการออกแบบ  ความมีเหตุผล และตรงต่อเวลา
Be trustworthy and look after your clients’ money properly         
มีสัจจะ ในเรื่องที่สำคัญคือเรื่อง “เงิน” หรือ “ค่าใช้จ่าย” ซึ่งใน ARB ได้กล่าวไว้ในข้อที่ 2 ว่า ควรแยกบัญชีโดยแบ่งเป็น บัญชีของลูกค้า และบัญชีส่วนตัว ออกจากกัน
Have appropriate insurance arrangements          
มีการเตรียมประกันภัยที่เหมาะสม
Maintain the reputation of architects                     
รักษาชื่อเสียงของวิชาชีพสถาปนิก
Deal with disputes or complaints appropriately 
จัดการข้อพิพาทหรือข้อร้องเรียนอย่างเหมาะสม
Co-operate with regulatory requirements and investigations      
ร่วมมือกับข้อกำหนดและการตรวจสอบ
Have respect for others                                                
มีความเคารพผู้อื่น ในข้อนี้ถือว่าสำคัญต่อบุคคลอื่น  ๆ เป็นอย่างมาก เพราะอาจส่งผลกระทบถึงพวกเขาเหล่านั้นได้ ซึ่งเราควรมีความยุติธรรมและตั้งมั่น ไม่ควรจะแบ่งแยกไม่ว่าในกรณีใด  ๆ เช่น คนพิการ,คนแก่,เพศ 

         เนื่องจากอาชีพสถาปนิก เป็นอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับหลายบุคคล ไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้อาคาร ผู้รับเหมา วิศวกร ซึ่งถ้าทำพลาดก็มีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้อง จึงต้องมีการประกันภัย หรือ PII (Professional indemnity insurance)
สถาปนิกคาดว่าจะมีวงเงินชดเชยที่ไม่ต่ำกว่า 250,000 ปอนด์
         ในประเทศไทย ยังไม่มีการประกันภัยของสถาปนิก ซึ่งในส่วนนี้ก็มีความสำคัญต่ออาชีพเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าอาชีพสถาปนิกก็เป็นอาชีพที่เสี่ยงชีวิตพอสมควร ต้องเจอกับผู้คนหลากหลายอาชีพ ทั้งคนสุจริต ทุจริต ถือว่าเป็นส่งที่อันตรายมาก

ขอกล่าวถึงในการกำหนดคุณภาพของนักเรียนที่จะเป็นสถาปนิกต่อไปของ ARB ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
  • Design

         Design  ต้องเรียนรู้การวิเคราะห์แก้ปัญหา (analysis), การเก็บข้อมูล(research) ,บริบทโดยรอบ (context) งบประมาณ (budget), การเตรียมตัว,การพัฒนาแบบ และการเขียนรายงาน
         ขอบเขตของกฎหมาย ความปลอดภัย (safety) และการก่อสร้างอาคาร (building construction)
         ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม, ทฤษฎีทางสถาปัตยกรรม, วัฒนธรรม และกระบวนการออกแบบ
และต้องมีความสามารถในการ...

ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 
  • Technology & Environment

         ต้องมีความรู้พื้นฐานในการก่อสร้างอาคาร, การออกแบบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และรวมถึงวิธีในการก่อสร้าง
  • Cultural Context

         ต้องมีความรู้ทางประวัติศาสตร์ ทฤษฎี และการวางผัง ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิมและต้องมีความสามารถในการตัดสินทางด้านความงาม การใช้วัสดุ (คล้ายๆกับที่ได้เรียนในวิชาอ.จิ๋ว)
  • Communication

         ต้องมีความสามารถในการสื่อสาร ทั้งในด้านการอ่าน พูด เขียน และการฟัง มีการสนทนากับคนอื่น  ๆ มีความเข้าใจและสามารถแสดงในลักษณะ 2 มิติ และ 3 มิติได้
Management, Practice & Law
         มีความรู้พื้นฐานในการบริหารจัดการ เช่น หากจะสร้างอาคารสักอาคารหนึ่ง จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง การกำหนดขอบเขตของงาน รวมถึงการติดต่อกับบุคคลภายนอก 

นอกเหนือจาก ARB แล้ว ยังมีหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่องกับวิชาชีพสถาปนิกอีกหน่วยงานหนึ่ง คือ

RIBA (The Royal Institute of British Architects)
The Royal Institute of British Architects จะคล้าย  ๆ กับ สมาคมสถาปนิกสยาม ASA ในประเทศไทย  ซึ่งใน RIBA นี่ก็จะมีสมาชิกที่เป็นสถาปนิกต่าง  ๆ ที่มีมาตรฐานในการฝึกอบรม มีรางวัลให้กับผลงานที่มีความเหมาะสมกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่จะให้ในทุก  ๆ ปี
ในการที่จะได้มาซึ่งการเป็นสถาปนิกของ RIBA จะต้องผ่านการเรียนรู้ดังนี้
RIBA Part 1
ต้องได้วุฒิ BA หรือ BSc ตลอดหลักสูตร 3 ปีเต็ม เมื่อครบ 1 ปี จะได้เป็น RIBA Student Membership
Stage 1 Professional Experience / Year Out
ทำงานในบริษัทสถาปนิก เพื่อเก็บสะสมประสบการณ์ โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1 ปี และจะมีการเก็บบันทึกประสบกาณ์ใน PEDR website  โดยมีผู้ให้คำปรึกษาเป็นคนควบคุมการฝึกงาน
RIBA Part 2
เป็นการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ใช้เวลา 2 ปีเต็ม มีการให้โปรเจคที่มีความยาก และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นักศึกษาสามารถเลือกที่จะกลับไปศึกษาในส่วนที่ 1 ได้ หรือนำไปประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้กับสถาบันใหม่ก็ได้เช่นกัน
Stage 2 Professional Experience
เก็บสะสมประสบการณ์เหมือน part 1 ซึ่งจะมีการเรียนอย่างต่ำ 1 ปี และสามารถบันทึกใน record work เป็น  2 ปีได้ คือจะทดแทนเวลา 2 ปีในระบบการฝึกงาน
และต้องผ่านการฝึกฝนทางวิชาชีพอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะมีสิทธิ์สอบในส่วนที่ 3 ได้
RIBA Part 3
สามารถเลือกสาขาวิชาในการเรียนไหนของ RIBA ก็ได้ ซึ่งจะมีการประเมินดังนี้
-เวลาขั้นต่ำ 24 เดือนที่บันทึกประสบการณ์ทางวิชาชีพหรือฝึกงาน
-C.V. แบบวิชาชีพและแบบการประเมินผลงาน
-กรณีศึกษา
-การสอบข้อเขียน
-การสอบสัมภาษณ์
Architect
ในการสอบปฏิบัติ จะต้องผ่านการประเมินทางด้านความรู้ในการประกอบวิชาชีพ, ความสามารถ และประสบการณ์ทางวิชาชีพทีได้ฝึกฝนมา ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการตรวจสอบคุณสมบัติในการเป็นสถาปนิก และเมื่อผ่านก็สามารถไปสมัครเป็นสถาปนิกกับทาง ARB ได้

จะเห็นว่าข้อกำหนดวิชาชีพสถาปนิกในอังกฤษนั้น ก็คล้ายกับประเทศไทยของเรา ถึงแม้บางสิ่ง เช่น หลักสูตรการเรียนการสอนอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่ในพื้นฐานของการเป็นสถาปนิกนั้น สิ่งที่สำคัญที่สถาปนิกทุกคนควรมีก็คือ ความซื่อสัตย์และมีจรรยาบรรณต่อในอาชีพ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้หมายเพียงแต่อาชีพสถาปนิกเท่านั้น แต่ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ ก็ต้องมีสิ่งเหล่านี้ด้วยอีกเช่นกัน

แหล่งที่มา http://www.architecture.com/Home.aspx
พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ. 2543