@ วัดราชบูรณะ พิษณุโลก
ลักษณะอาคารแบบสุโขทัย โครงสร้าง และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้ง โครงสร้างหลังคาเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่ง มีเสาบัวคุ่ม โครงสร้างของวัดนี้ข้างหน้าและข้างหลังแตกต่างกันคือ ด้านหน้าจะมีเสาไปรับข้่างนอก แต่ด้านหลังเป็นกำแพงรับน้ำหนัก ข้อแตกต่างของวิหารโถงกับวิหารหลวงก็คือ วิหารโถง คือวิหารโล่ง แต่วิหารหลวง จะมีเจดีย์สำคัญอยู่ทางด้านหลัง
![]() |
บรรยากาศภายในวิหาร |
![]() |
บน: ด้านหน้าของวิหาร ล่าง: ด้านหลังของวิหาร |
![]() |
จักรยานโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 |
หลังจากที่ชมความงามของวัดราชบูรณะแล้ว ไม่ไกลก็ีมีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
@ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พระพุทธชินราช) พิษณุโลก
เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธชินราช โดยผังบริเวณจะมีวิหารหลวงที่มีพระพุทธชินราช ตั้งอยู่หน้าพระปรางค์ โดยมีมุกยื่นออกมา และวิหารคดจะโอบล้อมรอบบริเวณทั้งหมด และสี่มุมจะมีวิหารทิศเชื่อมต่อกับวิหารคด เมื่อมองเข้ามาจะเห็นพระพุทธชินราชอยู่ตรงกลาง
สถาปัตยกรรมของพิษณุโลกที่จะให้ความสำคัญกับการเดินวนรอบ และให้ความสำคัญกับพื้นที่ภายในด้วย มีการเว้นระยะให้สามารถเห็นองค์พระ มีการเชื่อมโยงพื้นที่แต่ละพื้นที่ เพื่อให้เห็นวิหารชัดขึ้น ซึ่งจะแตกต่างกับสุโขทัยที่มีเจดีย์เต็มไปหมด
![]() |
ภายในวิหารคต |
หลังจากนั้นก็แวะซื้อของฝาก และออกเดินทางกลับกรุงเทพ ฯ...
ระหว่างทางที่กลับก็ทำให้ได้คิดอะไรหลาย ๆ อย่าง ได้ทบทวนความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาใน 9 วัน เปลี่ยนความคิดในหลาย ๆ ด้าน และการมองเห็นในสิ่งที่แตกต่างออกไป มีความรู้สึกประทับใจในงานพื้นถิ่นและความคิดของคนโบราณที่สามารถประยุกต์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ โดยไม่กระทบกระเทือนถึงสภาพแวดล้อมเดิม เมื่อก่อนที่เรามองบ้านสังกะสีแล้วก็ดูธรรมดา มองผ่านไป แต่เมื่อได้มาออกทริปครั้งนี้ก็เปลี่ยนไป จากของธรรมดาที่หลายคน แม้กระทั่งชาวบ้านมองข้ามไป ไม่เห็นคุณค่า แต่ความจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนมีคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างมาก น่าเสียดายที่อีกหน่อยอาจจะไม่มีให้เห็น เพราะความเจริญเข้ามา การใช้วัสดุ ค่านิยมต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย
ขอบคุณอาจารย์จิ๋ว อาจารย์ทุกท่าน รวมถึงผู้ให้ความรู้คนอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ที่ให้ความรู้และทัศนคติที่ดีในหลายแง่มุม ขอบคุณค่ะ ^^
ขอบคุณอาจารย์จิ๋ว อาจารย์ทุกท่าน รวมถึงผู้ให้ความรู้คนอื่น ๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ที่ให้ความรู้และทัศนคติที่ดีในหลายแง่มุม ขอบคุณค่ะ ^^