วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

28/07/2010

วันนี้เป็นวันแรกที่อยู่จังหวัดสุโขทัย ขึ้นรถแต่เช้า ก็แวะไปที่สรีดภงส์ ซึ่งเป็นแหล่งกักเก็บน้ำของจังหวัดสุโขทัย


@ สรีดภงส์ (ทำนบพระร่วง) สุโขทัย
ถือเป็นระบบชลประทานโบราณ มีภูเขาขนาบข้าง และมีน้ำจากลำธารไหลลงมา แจกออกไปเป็นคลองหรือแอ่งน้ำเพื่อเข้าสู่ตัวเมือง น้ำก็จะซึมบริเวณใต้ดิน ชาวบ้านก็ขุดน้ำไปใช้ได้และวิวัฒนาการต่อเป็นการทำท่อดินเผา ซึ่งเป็นระบบชลประทานที่มีการเข้าใจเรื่องของการชลประทานสูงมาก


สนุกสนานๆ
ต่อจากนั้นแวะไปโบราณสถานที่ต่อไปนั่นคือ..อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

วัดแรกคือ วัดมังกร

@ วัดมังกร สุโขทัย
วัดมังกรตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของสุโขทัย ซึ่งมีภูเขาล้อมรอบ และมีการใช้เซรามิกส์ กำแพงแก้ว และเจดีย์ทรงลังกาที่วางขนาบด้านข้าง


ซึ่งวัสดุที่ใช้ในสถาปัตยกรรมของสุโขทัยนั้นมี ศิลาแลง ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัย ศิลาแลงเมื่อเจออากาศแล้วจะแข็ง โครงสร้างของวัดนี้เหมือนกับวัดลำปางหลวง และวัดปงยางคกที่ได้ไปมา


บ่อน้ำโบราณ ใช้ศิลาแลงเป็นโครง ซึ่งจะมีน้ำให้ใช้ตลอดปี เพราะมีน้ำใต้ดินซึมเข้ามา

หลังจากนั้นก็ออกเดินทางถ่ายรูปวัดต่าง  ๆ ตั้งแต่วัดถ้ำหินล่าง วัดถ้ำหินบน วัดเจดีย์งาม วัดกำแพงหิน วันเขาพระบาทน้อย วัดอรัญญิก วัดสะพานหิน 

@ วัดมหาธาตุ สุโขทัย
ด้านหน้าของวัดมหาธาตุเป็นวัด มีวิหารหลวงเป็นวิหารประธาน มีบ่อน้ำอยู่ทางด้านหน้า และมีกำแพงเตี้ย ๆ เป็นเส้นระนาบนอน และในแต่ละด้านจะมีวิหาร พอเข้าไปเห็นเนินปราสาท ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของพระเจ้าแผ่นดิน และมีบริวาร 8 อัน ทรงพระปรางค์จะอยู่ต่ำลงมา ลักษณะเจดีย์เป็นแบบซ้อนชั้น เป็นแบบพุ่มข้าวบิณฑ์ 


ในสมัยก่อนนั้นมีการแบ่งการปกครองออกเป็นแคว้น ต่างคนก็ต่างมีอิสระต่อกัน ต่อมาภายหลังต้องต้อนผู้คนให้อยู่เมืองอยุธยาหมด สุโขทัยก็เลยกลายเป็นเมืองร้าง


บริเวณฐานจะเป็นการปั้นรูปพระสงฆ์ และการหัันหน้าของพระสงฆ์นั้นจะหันไปทางซ้ายไปขวา และมีลักษณะเดินรอบ ๆ วิหาร เพื่อระลึกถึงบุญคุณของพระบรมสารีริกธาตุ และจะมีเส้นแกนระหว่างเจดีย์กับวิหาร เมื่อเข้าถึงประตูก็มีการนำสายตาโดยใช้เส้นของกำแพง
การเรียงอิฐโชว์แนวนั้น สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับงานสมัยใหม่ได้ และการเรียงอิฐ การเจาะช่อง การย่อมุม ถือเป็นสัญลักษณ์ของสุโขทัย และวัดนี้ก็ถือเป็นวัดใหญ่ของสุโขทัย รัชกาลที่ 4 เคยมาธุดงค์

ด.ร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นผู้แปลภาษาที่เชี่ยวชาญ ได้มีความพยายามที่จะแกะภาษาโบราณ และได้ใจความว่า..เมืองศรีสัชนาลัย เป็นเมืองลูกหลวง เมืองพี่เมืองน้อง และมีโบราณสถานอยู่ 3 แห่งคือ ศรีสัชนาลัย สุโขทัย และกำแพงเพชร

แวะกินข้าวกลางวันที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่มีการสร้างบรรยากาศให้เหมือนอดีต พยายามย้อนรอยอดีตด้วยการนำสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยมาใส่ไว้ในอาคาร เช่นการทำตัวเหงาแบบขมวด ซึ่งเป็นก้นหอย และการนำวัสดุใหม่มาใช้ร่วมกับไม้คือเสาคอนกรีต


เดินทางมุ่งสู่วัดต่อไปคือ วัดพระพายหลวง

@ วัดพระพายหลวง สุโขทัย
ในสมัยก่อนศิลาแลงสามารถขุดหาได้ง่าย นำมาซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ถือว่าเป็นสุดยอดของความจริงแท้ ในแต่ละชั้นก็จะเป็นวิมานของเทพแต่ละองค์ เป็นเรื่องราวของเทพเจ้าในปรางค์ต่าง  ๆ


เมื่อยุคของขอมเริ่มหมดอำนาจ สุโขทัยก็เริ่มมีการต่อเติม เป็นพระปรางค์แบบขอมรวมกับแบบสุโขทัย โบสถ์ก็จะมีใบเสมา มีวิหารทำพิธีกรรม คล้ายวัดข่วงกอม มีหน้าที่เป็นศาลาการเปรียญ เจดีย์ซ้อนเจดีย์ รัชกาลที่ 1 ทรงเอาพระไปซ่อมแซมแล้วไปไว้ที่วัดโพธิ์ รูปลักษณ์ของพระปรางค์ก็จะบอกถึงความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และวัดนี้ถือเป็นการผสมผสานระหว่างศาสนาพราหมณ์และพุทธศาสนา


เดินทางมาถึงวัดศรีชุม


@ วัดศรีชุม สุโขทัย
บริเวณด้านหน้ามีวิหารเล็ก  ๆ พระพุทธรูปด้านหน้าองค์ใหญ่เรียกว่า พระอาจนะ บนเพดานจารึกพระเจ้า 500 ชาติเอาไว้ และมีต้นมะม่วงป่าอายุ 700 ปีมาแล้ว ซึ่งต้นไม้เป็นตัวบ่งบอกกาลเวลา ที่อยู่ร่วมกับโบราณสถานในแต่ละที่ ทำให้เราได้เห็นคุณค่า


มีวิหารเล็ก ๆอยู่ทางด้านหน้า
วัดสุดท้ายของวันนี้คือวัดศรีสวาย

@ วัดศรีสวาย สุโขทัย
วัดศรีสวาย ถือว่าเป็นตัวอย่างในการก่อศิลาแลง มีซุ้มประตูทางเข้าเป็นเส้นแกน หันหน้าไปทางทิศเหนือ 
สิ่งสำคัญคือลายปั้นปูนประดับตัวปรางค์ การเปลือยเปล่าของปูนฉาบ เห็นแนวอิฐเล็กใหญ่สลักกับศิลาแลง มีการเจาะรูผนังอย่างลงตัว ทำให้เกิดเส้นตั้งเส้นนอนที่มีความสวยงาม


มีการวาง pattern กำแพง การเล่นความลึก-ตื้นของผนัง ใช้อิฐที่ขนาดไม่เท่ากันนำมาเรียงกันแล้วก่อให้เกิดพื้นผิวที่มีความแตกต่าง ซึ่งเทคนิคเหล่านี้น่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานร่วมสมัยได้(อีกเช่นเคย)
ผนังที่มีการเล่นจังหวะและพื้นผิว (แถมนางแบบด้วย)
หลังจากที่แวะชมวัดโบราณอย่างหนำใจแล้ว ก็ออกเดินทางต่อ คราวนี้ไปที่หมู่บ้านสังคโลก

@ หมู่บ้านสังคโลก สุโขทัย
จากการที่ได้ซึมซับความรู้และการมองมาหลายวัน เริ่มจะมองเห็นถึงความงามของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ลานโล่ง วัสดุ และอีกหลาย ๆ อย่าง รวมถึงการมองให้ลึกเข้าไปในด้านการเจาะช่อง การใช้จังหวะของพื้นผิว ต้นไม้ที่ปลูก ซึ่งทำให้มุมมองของเราเปิดกว้างมากขึ้น

ต้นไม้ประดับลานบ้าน มีทั้งไม้ที่ให้ร่มเงาและืพืชผักสวนครัว
อย่างบ้านหลังนี้ ก็มีการเ่ล่นวัสดุที่ใช้คือ สังกะสี ไม้ระแนง นำมาวางให้เกิด pattern ที่แตกต่างกัน ยังมีใต้ถุนบ้านที่มีความโปร่งโล่ง ลดความทึบของผนังไม้ที่อยู่ด้านข้าง ขนาดของไม้ที่แตกต่างกันทำให้เกิดความน่าสนใจยิ่งขึ้น เราควรต้องรู้จักและทำความเข้าใจภาษาของชาวบ้านให้ได้มากที่สุด เพื่อการออกแบบงานแต่ละท้องถิ่นให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
สังกะสี ไม้ ทำให้เกิดจังหวะของผนัง


บ้านพื้นถิ่นแต่ให้บรรยากาศเป็นบ้านร่วมสมัยมากๆ

บ้านแต่ละหลังก็จะมีความพิเศษแตกต่างกันออกไป
วันนี้กว่าจะถ่ายเสร็จฟ้าก็เริ่มมืด ได้เวลากลับที่พักแล้ว นั่งรถก็หลับสบายมาก..หมดไปอีกหนึ่งวัน





1 ความคิดเห็น: